เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 (ข้อ 312) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาสวสุขํ ได้แก่ สุขในวัฏฏะ ซึ่งเป็นปัจจัยแก่อาสวะ
ทั้งหลาย. บทว่า อนาสวสุขํ ได้แก่ สุขในพระนิพพาน ซึ่งไม่เป็น
ปัจจัยแก่อาสวะเหล่านั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 (ข้อ 313) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิรามิสํ ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงวัฏฏะ ยังมีกิเลส. บทว่า
นิรามิสํ ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงพระนิพพาน ปราศจากกิเลส.
จบอรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 (ข้อ 314) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อริยสุขํ ได้แก่ สุขของอริยบุคคล. บทว่า อนริยสุขํ
ได้แก่ สุขของปุถุชน.
จบอรรถกถาสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7


ในสูตรที่ 7 (ข้อ 315) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กายิกํ ได้แก่ สุขที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณ. บทว่า เจตสิกํ
ได้แก่ สุขที่เกิดทางมโนทวาร. ตรัสคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 7

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 (ข้อ 316) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สปฺปีติกํ ได้แก่ สุขในปฐมฌานและทุติยฌาน. บทว่า
นิปฺปีติกํ ได้แก่ สุขในตติยฌานและจตุตถฌาน. บรรดาสุข 2 อย่างนั้น
พึงทราบความเป็นเลิศ โดยไม่แบ่งชั้นอย่างนี้ คือ สุขปราศจากปีติที่เป็น
โลกิยะ เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกิยะ และสุขปราศจากปีติที่เป็นโลกุตระ
เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกุตระ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 (ข้อ 317) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาตสุขํ ได้แก่ สุขในฌานทั้ง 3. บทว่า อุเปกฺขาสุขํ
ได้แก่ สุขในจตุตถฌาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 (ข้อ 318) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมาธิสุขํ ได้แก่ สุขที่ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ.
บทว่า อสมาธิสุขํ ได้แก่ สุขที่ไม่ถึงสมาธิทั้งสองนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ 10